ฟรีค่าขนส่งเมื่อซื้อมากกว่า 30,000 บาท
Line: @941mnidk
ห้องเย็น โชคอุตสาหะ
ห้องเย็น ราคา

10 อย่างที่ต้องคำนึงก่อนสร้างห้องเย็น

By Admin | 28 Nov, 2022 | ห้องเย็น


11 อย่างที่ต้องคำนึงก่อนสร้างห้องเย็น
1. พื้นที่ที่ติดตั้งห้องเย็น
2. ระยะส่งลมระบายลมร้อน
3. เสียงรบกวนของเครื่องทำความเย็น
4. ไฟฟ้า
5. เครื่องทำความเย็น
6. แผ่นฉนวนห้องเย็น
7. ประตูห้องเย็น ฮีทเตอร์ขอบประตู
8. พื้นห้องเย็น
9. ระบบละลายน้ำแข็ง (Heater)
10. จุดระบายน้ำทิ้ง
11. ช่าง ผู้รับเหมาติดตั้งห้องเย็น

1. พื้นที่ที่ติดตั้งห้องเย็น
อยากให้ทุกคนสำรวจพื้นที่ ที่จะวางห้องเย็นของตัวเอง มีขนาดกว้าง ยาว และสูง กี่เมตร อยู่ในอาคาร ในโกด้ง หรือ เป็นที่โล่งแจ้ง เพราะจะมีผลกับการติดตั้งห้องเย็น ว่าจะเป็นแบบ

- ห้องเย็นสำเร็จรูป จะยกห้องเย็นประกอบเสร็จแล้ววางได้เลย หรือจะเป็นแบบ
- ห้องเย็นที่ติดตั้งหน้างาน เหมาะกับพื้นที่แคบๆ ที่นำห้องเย็นสำเร็จรูปเข้าพื้นที่ไม่ได้

ห้องเย็นทั้ง 2 ประเภทนี้แช่เก็บสินค้าทำความเย็นได้เหมือนกัน แต่จะมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน เช่น ถ้ามีการเคลื่อนย้ายห้องเย็นบ่อยๆ จะเหมาะกับห้องเย็นสำเร็จรูป เพราะเคลื่อนย้ายง่าย และค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่ำกว่าห้องติดตั้งหน้างาน

ห้องเย็นติดตั้งหน้างานจะเหมาะกับห้องเย็นที่ติดตั้งถาวร ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ถ้าเคลื่อนย้ายจะต้องรื้อถอน ขนย้าย และติดตั้งใหม่ (เคลื่อนย้ายค่าใช้จ่ายสูง) แนะนำต้องเป็นที่ของตัวเองที่ไม่ได้เช่าคนอื่น หรือถ้าเช่าก็ต้องเป็นเช่าอาคารพื้นที่ระยะยาวนิดนึง 3-5 ปีขึ้นไป จะได้คุ้มทุนที่เราลงทุนสร้างห้องเย็น ชมคลิปข้อมูลด้านล่างได้ครับ



2. ระยะส่งลมระบายลมร้อน
ต่อจากข้อที่ 1 เราต้องดูต่อว่าเราจะว่างคอยล์ร้อนไว้ตรงไหน คอยล์ร้อนก็เหมือนแอร์ตามบ้านที่ต้องอยู่ข้างนอกบ้าน เพื่อให้ลมร้อนออกไปข้างนอก แนะนำให้มีพื้นที่ระบายลมได้ดี ไม่ชิดกำแพงมาก และไม่เป็นที่อับอากาศ ถ้าพื้นที่อับอากาศไม่มีที่ระบาย จะมีผลกับความเย็นในห้องเย็นจะทำอุณหภูมิได้ช้าลง คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าเราสูงขึ้นตามไปด้วย วิธีประหยัดไฟห้องเย็นก็คือ จัดตำแหน่งระบายความร้อนให้ระบายลมร้อนได้ดี ชมคลิปเรื่องระบายลมร้อนด้านล่างได้ครับ



3. เสียงรบกวนของเครื่องทำความเย็น
ห้องเย็นเสียงดัง หากท่านใดติดตั้งห้องเย็นในบ้าน หมู่บ้าน หรือในชุมชน ต้องระวังเรื่องเสียง และกลิ่นของอาหารด้วยนะครับ ปัญหานี้ผมพบบ่อย ถ้าติดตั้งห้องเย็นในแหล่งชุมชน เรื่องเสียงตอนที่เครื่องคอมเพรสเซอร์และคอยล์ร้อนทำงานจะมีเสียงค่อนข้างดังและรบกวนเพื่อนบ้าน ยิ่งถ้าเป็นเครื่องขนาดใหญ่จะยิ่งเสียงดัง หากเป็นเครื่องขนาดไม่เกิน 6 แรงม้า หรือ 6 HP พอที่จะติดตั้งบริเวณชุมชนได้อยู่ แต่เครื่องคอมเพรสเซอร์ใหญ่กว่า 8 แรงม้า ขึ้นไปไม่เหมาะกับพื้นที่ชุมชน

หากใช้คอมเพรสเซอร์ขนาด 6HP แล้วยังเสียงดังอีก หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาจจะต้องเปลี่ยน พัดลมคอยล์ร้อนเป็นแบบพัดลมรอบช้า จะลดเรื่องเสียงได้ หรือจะทำเป็นห้องเก็บเสียง แล้วนำเฉพาะคอยล์ร้อนไว้ด้านนอกอย่างเดียวก็ช่วยลดห้องเย็นเสียงดังได้ ชมคลิปเรื่องเสียงรบกวนด้านล่างได้ครับ



4. ไฟฟ้า
ไฟฟ้าที่ใช้กับห้องเย็นเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าไฟฟ้าไม่เสถียร จะเหมือนรถยนต์ที่ไม่มีน้ำมัน ทำให้ห้องเย็นทำงานไม่ได้ ไฟฟ้าที่เหมาะสมใช้งานห้องเย็น จะเป็นไฟฟ้า 3 เฟส (จะมีสายไฟ 4 เส้น) ผมจะไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส ห้องเย็นที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 220V สถิติจะมีปัญหามากกว่า 3 เฟส

ข้อจำกัดไฟฟ้า 1 เฟส จะใช้กับห้องเย็นขนาดกลางและขนาดใหญ่ไม่ได้ กำลังของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส จะใช้ได้แค่ 4 HP เท่านั้น หากจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า 1 เฟส ต้องให้แน่ใจว่าไฟฟ้าไม่ตก และ หม้อมิเตอร์ไม่อยู่ปลายสายไฟฟ้าของหมู่บ้าน หากแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 200 V จะใช้ไม่ได้นะครับ

การสำรวจไฟฟ้าของตัวเอง ให้ดูที่หม้อมิเตอร์ของเราว่าเป็น 3 Phase 4 Wire หรือ 1 Phase 2 Wire ถ้าท่านใดต้องการเปลียนจาก 1 เฟส เป็น 3 เฟส ให้ติดต่อการไฟฟ้าใกล้ๆ บ้านได้เลย หรือดูง่ายๆ ว่าหน้าบ้านเรามีสายไฟฟ้า 2 เส้น หรือ 4 เส้น

5. เครื่องทำความเย็น
เมื่อเราเช็คไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อย ต่อไปก็มาดูเรื่องเครื่องทำความเย็น แล้วเราต้องดูอะไรบ้าง
5.1 ปริมาณสินค้าที่เรานำเข้าแช่ห้องเย็นกี่กิโล ต่อ 1 วัน
5.2 อุณหภูมิสินค้าก่อนเข้าห้องเย็นกี่องศา
5.3 อุณหภูมิสินค้าที่ต้องการ
5.4 ระยะเวลาที่ต้องการให้ลดอุณหภูมิ เช่น อยากให้สินค้าเย็นภายใน 12 ชั่วโมงเป็นต้น
5.5 ขนาดห้องเย็น กว้าง ยาว สูง กี่เมตร

ทั้ง 5 ข้อนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการคำนวณ เลือกเครื่องคอมเพรสเซอร์ อธิบายให้เขาใจได้ง่ายขึ้น เราจำเป็นต้องรู้ Business Model ของเราก่อน ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการเก็บไก่ไว้ขาย ถ้าเป็นร้านค้าขายปลีก สินค้าหมุนเวียนเร็ว จะมีห้องเย็นไว้พักสินค้า แบบนี้ไก่ไม่ต้องแช่แข็ง แช่ห้องเย็นแบบชิลก็พอ แต่ถ้าต้องการเก็บไก่ระยะนานหลายๆ เดือน ธุรกิจแบบโฟรเซ่น ก็ต้องฟรีสแข็งครับ

ห้องเย็นอุณหภูมิชิล และ อุณหภูมิฟรีส ประเภทคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ จะไม่เหมือนกัน
- ห้องเย็นชิล อุณหภูมิ +15 องศา ถึง -15 องศาเซลเซียส จะใช้คอมเพรสเซอร์ประเภท Medium Temperature
- ห้องเย็นฟรีส อุณหภูมิ -16 องศา ถึง -25 องศาเซลเซียส จะใช้คอมเพรสเซอร์ประเภท Low Temperature
- ห้องเย็นแช่แข็งแบบรวดเร็วต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส จะใช้คอมเพรสเซอร์ประเภท Low Temperature แบบ 2 ระดับ (2 Stage)

รายละเอียดเรื่องเครื่องทำความเย็นมีค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ผมเขียนอธิบายแบบละเอียดอ่านได้ที่นี่ครับ คลิก

6. แผ่นฉนวนห้องเย็น
นอกจากเครื่องทำความเย็นแล้ว แผ่นฉนวนที่ใช้สร้างห้องเย็นก็สำคัญไม่แพ้กัน หน้าทีของห้องเย็นก็คือเก็บความเย็นให้ได้นานที่สุด ส่วนเครื่องทำหน้าที่ทำความเย็นให้สินค้า ถ้าห้องเย็นและเครื่องดี จะทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้เหมือนกัน แผ่นฉนวนห้องเย็นที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ จะมี PU และ PS ความหนาของแผ่นฉนวน ก็ขึ้นอยู่อุณหภูมิที่เราต้องการ ยิ่งอุณหภูมิต่ำๆ เราต้องใช้ฉนวนที่หนาขึ้นครับ

รายละเอียดเรื่องแผ่นฉฯวน ผมมีอธิบายละเอียดๆ อ่านได้ที่นี่ครับ คลิก

7. ประตูห้องเย็น ฮีทเตอร์ขอบประตู
ประตูห้องเย็นมี 2 ประเภท มีบานสวิง และ บานเลื่อน (สไลด์) สามารถใช้งานได้ทั้งคู่ ปกติส่วนใหญ่ห้องเย็นขนาดกลางและขนาดใหญ่จะใช้บานเลื่อน เพราะต้องใช้ประตูบานใหญ่ เช่น ประตูกว้าง มากกว่า 1.20 เมตร จะนิยมใช้เป็นบานเลื่อน ส่วนประตูห้องเย็นบานสวิงจะเหมาะห้องเย็นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ที่ช่องประตูกว้างไม่เกิน 1.20 เมตร และบริเวณขอบประตูห้องเย็นจำเป็นต้องมีฮีตเตอร์ด้วยนะครับ เพื่อป้องกันน้ำแข็งที่จะมาเกาะบริเวณขอบประตู

ฮีทเตอร์ขอบประตู ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำแข็งบริเวณประตู จำเป็นต้องมีติดตั้งไว้ โดยเฉพาะห้องฟรีสแช่แข็ง จะเกิดน้ำแข็งจำนวนมาก ถ้าไม่มีฮีทเตอร์บริเวณประตู หยดน้ำจะไหลออกมาเจิงนองหน้าประตูห้องเย็นครับ

8. พื้นห้องเย็น
พื้นห้องเย็นจะมีอยู่ 2 ประเภท มีพื้นห้องเย็นสำเร็จรูป (แผ่นอลูมิเนียม) และพื้นปูน ห้องเย็นขนาดเล็กจะนิยมใช้พื้นสำเร็จรูป เนื่องจากสะดวกในการเคลื่อนย้ายห้องเย็น พื้นปูนจะเหมาะกับห้องเย็นขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ ห้องเย็นต้องการพื้นที่แข็งแรง ซึ่งพื้นปูนจะแข็งแรงกว่าพื้นสำเร็จรูป พื้นปูนจะรองรับน้ำหนักสินค้าในปริมาณมากๆ ได้ดี เช่น เก็บสินค้ามากกว่า 10 ต้น เป็นต้น โดยพื้นปูนเราสามารถทำ TOPPING ด้วย PU หรือ EPROXY เหมาะกับไลน์ผลิตอาหารครับ

Note. พื้นห้องเย็นแบบสำเร็จรูปสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ แผ่นฉนวนโฟมพื้น ปกติจะเป็นเหล็กทั้ง 2 ด้าน แนะนำให้ 1 ด้านเป็นเหล็ก และ อีกด้านเป็น ซีเมนต์บอร์ด ให้ด้านซีเมนต์บอร์ดอยู่ด้านบนที่เราจะรองรับน้ำหนัก ซีเมนต์บอร์ดมีความหนา 10 cm ส่วนเหล็กหนาแค่เพียง 0.45mm เท่านั้น

9. ระบบละลายน้ำแข็ง
ระบบละลายน้ำแข็ง หรือ เรียกว่า ดีฟรอส (Defrost) ระบบนี้จะอยู่ในคอยล์เย็นที่มี ฮีตเตอร์อยู่ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ได้เกิดน้ำแข็งในคอยล์เย็น ระบบละลายน้ำแข็งนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะ ห้องเย็นฟรีส Freeze จะมีน้ำแข็งไปเกาะบริเวณคอยล์เย็นจำเนวนมาก ทำให้ลมเย็นไม่สามารถส่งไปถึงสินค้าได้ อาจทำให้สินค้าในห้องเย็นเสียหายได้

10. จุดระบายน้ำทิ้ง
ต่อจากข้อ 9 เมื่อละลายน้ำแข็งแล้ว จำเป็นต้องระบายน้ำออกจากห้องเย็น ดังนั้น เราต้องมีจุดระบายน้ำทิ้ง ในการออกแบบห้องเย็นเราต้องออกแบบเผื่อจุดระบายน้ำด้วยนะครับ อันนี้สำคัญบางห้องไม่ได้เตรียมที่ระบายน้ำทิ้งไว้ จะมีปัญหาน้ำเจิงนอง โดยวิธีการต่อท่อน้ำทิ้ง เราต่อท่อน้ำทิ้ง จากคอยล์เย็นออกไปนอกห้อง

11. ช่าง ผู้รับเหมาติดตั้งห้องเย็น
หากต้องการจ้างช่างติดตั้งห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์การทำให้ห้องมาก่อน เพราะหากช่างขาดความรู้และประสบการณ์ ที่สำคัญช่างติดตั้งต้องไว้ใจได้ และเรียกใช้บริการหลังการขายได้ตลอดเวลา เพราะสินค้าที่อยู่ในห้องเย็นมีความเสี่ยงตลอดเวลา หากเครื่องมีปัญหาทำงานไม่ได้ สินค้าที่อยู่ในห้องเย็นอาจเสียหายได้ ช่างแอร์ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบคอนโทรลไฟฟ้าห้องเย็น อุปกรณ์ที่อยู่ในตู้คอนโทรล

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อ
Line ID : @941mnidk
TEL : 099-129-0789


Line QR Code